ใช้งานง่ายๆ แค่ปลายนิ้วสัมผัส
วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เรียกร้องความสนใจ โดย ครูอ้อย แซ่เฮ
กลุ่มคำว่า..เรียกร้องความสนใจ ค่อนข้างจะเป็นทางลบ หมายถึง ไม่ค่อยจะมีความหมายไปในทางที่ดี
การเรียกร้องความสนใจ มักจะเกิดกับคนที่กล้าแสดงออก อยากแสดงอะไรก็ได้ ให้เพื่อนยอมรับ เขาเรียกว่า...เรียกร้องความสนใจ
มีอยู่ในตัวคนทุกเพศ ทุกวัย ในนักเรียนเล็กๆ ของครูอ้อยก็เยอะ ในตัวครูที่อายุจนปูนนี้ก็มาก
ความสนใจ ไม่ใช่จะเป็นเรื่องเลวร้าย เปล่าเลย กลับเป็นเรื่องที่ดี เสียด้วยซ้ำไป
ความสนใจของคนเรามีอยู่ในตัวคนทุกคน มีความแตกต่างกันไปในเรื่องที่สนใจ
แต่จะทำอย่างไร ให้พวกเขามาสนใจในสิ่งเดียวกันได้ เป็นเรื่องที่เราต้องพิสูจน์ เราหมายถึง...ครูผู้สอน พวกเขาหมายถึง...นักเรียน นักเรียนมีมาหลากหลายครอบครัวที่มีหลากหลายฐานะ ความสนใจ ความเอาใจใส่ ความรัก ความอบอุ่น ตลอดจนครัวเศรษฐกิจ ที่มีความมั่นคงไม่เท่าเทียมกัน เป็นตัวประกอบต่างๆ ที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน...แตกต่างกัน
หากครูผู้สอน รู้จักเรียกร้องความสนใจ ให้นักเรียนที่อยู่ในความปกครองของตนเอง หันมาให้ความสนใจ รักเรียน ใฝ่เรียนรู้ได้ นับว่า เป็นผลสำเร็จอย่างดีงาม....
ครูอ้อย พูดให้น้อง ครู ป.บัณฑิต ที่มาฝึกการสอนที่โรงเรียน ให้เข้าใจ ถึงการจัดการเรียนรู้ที่ดี ที่จะนำพาให้นักเรียนบรรลุตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 นั้น ต้องให้นักเรียน มีความรู้ มีทักษะกระบวนการ เจตคติที่ดี ซึ่งจะต้องศึกษาให้แม่นยำ ที่สำคัญที่สุดก็คือ...ทำอะไร สอนอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร ให้ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ...บรรลุจุดประสงค์แน่ๆ
นอกจากนั้น ต้องรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล สามารถดึงความสนใจของนักเรียนออกมาให้ได้ และนำความสนใจนั้นมาเรียบเรียง จัดการเรียนรู้ไปตามนั้น นักเรียนจะเรียนรู้ไปอย่างมีความสุข สนุก และไม่รู้ตัวเลยว่า...กำลังเรียนรู้แล้ว
เรียกร้องความสนใจ จะต้องเป็นกลุ่มคำที่ มีความหมายเป็นบวก อันหมายถึง ดึงความสนใจออกมา เรียกออกมาใช้ ใช้ในทางที่ถูกต้อง มีความหมาย มีความสำเร็จ
ความสนใจ จึงจะ มีความหมาย เป็นสิ่งที่ดี ที่งาม ที่สำเร็จ ตลอดไป
ที่มา : http://gotoknow.org/blog/skuikratoke/160795
การเรียกร้องความสนใจ มักจะเกิดกับคนที่กล้าแสดงออก อยากแสดงอะไรก็ได้ ให้เพื่อนยอมรับ เขาเรียกว่า...เรียกร้องความสนใจ
มีอยู่ในตัวคนทุกเพศ ทุกวัย ในนักเรียนเล็กๆ ของครูอ้อยก็เยอะ ในตัวครูที่อายุจนปูนนี้ก็มาก
ความสนใจ ไม่ใช่จะเป็นเรื่องเลวร้าย เปล่าเลย กลับเป็นเรื่องที่ดี เสียด้วยซ้ำไป
ความสนใจของคนเรามีอยู่ในตัวคนทุกคน มีความแตกต่างกันไปในเรื่องที่สนใจ
แต่จะทำอย่างไร ให้พวกเขามาสนใจในสิ่งเดียวกันได้ เป็นเรื่องที่เราต้องพิสูจน์ เราหมายถึง...ครูผู้สอน พวกเขาหมายถึง...นักเรียน นักเรียนมีมาหลากหลายครอบครัวที่มีหลากหลายฐานะ ความสนใจ ความเอาใจใส่ ความรัก ความอบอุ่น ตลอดจนครัวเศรษฐกิจ ที่มีความมั่นคงไม่เท่าเทียมกัน เป็นตัวประกอบต่างๆ ที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน...แตกต่างกัน
หากครูผู้สอน รู้จักเรียกร้องความสนใจ ให้นักเรียนที่อยู่ในความปกครองของตนเอง หันมาให้ความสนใจ รักเรียน ใฝ่เรียนรู้ได้ นับว่า เป็นผลสำเร็จอย่างดีงาม....
ครูอ้อย พูดให้น้อง ครู ป.บัณฑิต ที่มาฝึกการสอนที่โรงเรียน ให้เข้าใจ ถึงการจัดการเรียนรู้ที่ดี ที่จะนำพาให้นักเรียนบรรลุตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 นั้น ต้องให้นักเรียน มีความรู้ มีทักษะกระบวนการ เจตคติที่ดี ซึ่งจะต้องศึกษาให้แม่นยำ ที่สำคัญที่สุดก็คือ...ทำอะไร สอนอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร ให้ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ...บรรลุจุดประสงค์แน่ๆ
นอกจากนั้น ต้องรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล สามารถดึงความสนใจของนักเรียนออกมาให้ได้ และนำความสนใจนั้นมาเรียบเรียง จัดการเรียนรู้ไปตามนั้น นักเรียนจะเรียนรู้ไปอย่างมีความสุข สนุก และไม่รู้ตัวเลยว่า...กำลังเรียนรู้แล้ว
เรียกร้องความสนใจ จะต้องเป็นกลุ่มคำที่ มีความหมายเป็นบวก อันหมายถึง ดึงความสนใจออกมา เรียกออกมาใช้ ใช้ในทางที่ถูกต้อง มีความหมาย มีความสำเร็จ
ความสนใจ จึงจะ มีความหมาย เป็นสิ่งที่ดี ที่งาม ที่สำเร็จ ตลอดไป
ที่มา : http://gotoknow.org/blog/skuikratoke/160795
การป้องกันตาล้าจากการดูจอภาพคอมพิวเตอร์
ถ้านั่งทำคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการตาล้า สมาคมป้องกันอาการตาบอดในอเมริกาแนะนำให้ปรับเปลี่ยนโต๊ะทำงานอาจจะสามารถป้องกันอาการนี้ได้ ดังนี้
• อยู่ห่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 20-26 นิ้ว และอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าระดับสายตาเพียงเล็กน้อย
• ลดแสงจ้าจากหน้าจอด้วยการมีดวงไฟหรือโคมไฟเหนือศีรษะ หรือติดตั้งม่านบังแสงไม่ให้เกิดแสงสะท้อน หรืออาจจะใช้แผ่นกรองแสงที่หน้าจอ
• ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ควรเลือกรุ่นที่ปรับระดับหน้าจอและแสงสว่างของจอภาพได้
ที่มา: ข่าววิทยาการ น.ส.พ.ไทยรัฐ, "ป้องกันสายตาล้าจากคอมพิวเตอร์", http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=25368
• อยู่ห่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 20-26 นิ้ว และอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าระดับสายตาเพียงเล็กน้อย
• ลดแสงจ้าจากหน้าจอด้วยการมีดวงไฟหรือโคมไฟเหนือศีรษะ หรือติดตั้งม่านบังแสงไม่ให้เกิดแสงสะท้อน หรืออาจจะใช้แผ่นกรองแสงที่หน้าจอ
• ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ควรเลือกรุ่นที่ปรับระดับหน้าจอและแสงสว่างของจอภาพได้
ที่มา: ข่าววิทยาการ น.ส.พ.ไทยรัฐ, "ป้องกันสายตาล้าจากคอมพิวเตอร์", http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=25368
1 ความคิดเห็น:
หาจนเจอ
แสดงความคิดเห็น